พระพุทธวิชิตมาร ประทานสันติสุข สวัสดี ชินสีห์ ธรรมบพิตร
วัดท่าเกวียน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ปี2514
พระพุทธวิชิตมาร เนื้อทองคำสร้าง 29 องค์
-พระกริ่งพุทธวิชิตมาร หนัก 32.64 กรัม
-พระชัยวัฒน์พุทธวิชิตมาร หนัก 7.69 กรัม
พุทธวิชิตมาร = **..ชนะทุกอุปสรรค..**..ชนะทุกหมู่มาร..**
จัดสร้างโดย: ท่านเจ้าคุณอดุลสารมุนี(หลวงปู่จันทร์)วัดท่าเกวียน เจ้าคณะอำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา
วัตถุประสงค์: เพื่อหารายได้เข้าทุนมูลนิธิท่านเจ้าคุณพระอดุลสารมุนี เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุและสามเณรที่ยากไร้
พิธีมหาพุทธาภิเษก นี้ได้ให้ฤกษ์ยามโดยท่านเจ้าคุณไสว แห่งวัดราชนัดดาราม ฯ ในวันที่ 18 มีนาคม พุทธศักราช 2514 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน จุลศักราช 1332เวลา 18.05น.อันเป็นฤกษ์จุดเทียนชัยโดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราชวัดมกุฎกษัตริยาราม(จวน อุฏฐายี) สังฆราชองค์ที่ 16 .....ทรงจุดเทียนชัย และได้มอบแผ่นชนวนจากวัดมกุฎกษัตริยาราม และวัดสุทัศน์จากสมเด็จพุฒาจารย์(เสงี่ยม) วัดสุทัศน์ฯ ผู้มอบและได้รับแผ่นทอง เงิน นาก จากท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์เป็นผู้ลงแผ่นและอธิษฐานจิตมาด้วย
พ.ศ.2513โดยการออกแบบสร้างของนายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ที่สวยงามที่สุดในประเทศสร้างจำนวนอย่างละ5,000 องค์และเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 29 องค์เท่านั้น นอกนั้นเป็นเนื้อนวะทั้งหมด เนื้อเงินไม่มี
จัดพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2514 โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 108 รูป เริ่มพิธีตั้งแต่ 6โมงเย็นตลอดทั้งคืน จนถึง 6 โมงเช้า โดยหลวงปู่นาค วัดระฆังเป็นองค์ดับเทียนชัย
คณาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกพอจำได้ และที่จำไม่ได้ก็มีหลายรูป ทางคณะผู้สร้างได้ขอพระราชทานนามจากพระอริยวงศาตตญาณ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดมงกุฎกษัตริยาราม ได้มีพระมหากรุณาทรงพระประทานนาม อันเป็นมหามิ่งมงคล แด่พระกริ่งนี้ว่า“ พระพุทธวิชิตมาร ประทานสันติสุข สวัสดี ชินสีห์ ธรรมบพิตร ”
ลักษณะพระกริ่ง เป็นพุทธลักษณ์ ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงน้ำเต้าพระพุทธมนต์ ศิลปโบราณ อันละเอียดอ่อน ชัดเจนงดงามยิ่งนัก ฐานรองรับองค์เป็นรูปบัวตูมอันอ่อนช้อย ใต้ฐานตอกโค๊ต ดอกจันทร์ และ อุดกริ่งเป็นรูปธรรมจักร พระที่น่าศรัทธาเลื่อมใส นับเป็นการออกแบบที่ยอดเยี่ยม ...
ประวัติการสร้างวัตถุมงคลของวัดท่าเกวียนเมื่อปี พ.ศ. 2514 คลุมเครือมาโดยตลอดอาจด้วยระยะเวลาที่ผ่านมาแล้วถึง 40 ปี หลักฐานต่างๆไม่มีการบันทึกไว้จึงทำให้มีข้อกังขามาตลอดถึงที่มาที่ไปของวัตถุมงคลชุดนี้ ว่าในการจัดสร้างครั้งนั้นมีวัตถุมงคลชนิดใดบ้างออกแบบโดยใครกันแน่ มีพระคณาจารย์องค์ใดบ้างมาปลุกเสกและพิธีพุทธาภิเษกที่ว่าใหญ่ใหญ่จริงหรือเปล่า ปลุกเสกวันไหนแน่ 14 มีนาคม หรือ 18 มีนาคม2514 กันแน่วันนี้มีหลักฐานที่เชื่อถือได้และให้คำตอบได้ในบางส่วนมาฝากเพื่อนสมาชิกจะได้ใช้ศึกษาประกอบกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาแล้วลองมาเทียบเคียงดูครับว่าที่พูดๆกันมาตลอด จริงหรือไม่จริง
หลักฐานที่ว่านี้เป็นใบบอกบุญ(สมัยนี้เรียกใบโบรชัวร์)ที่ออกโดยวัดท่าเกวียน เป็นใบตัวจริง ไม่ใช่ใบถ่ายเอกสารจึงทำให้เชื่อถือได้ครับผมได้แค่ขอถ่ายรูปเค้ามานะครับ ไม่กล้าขอเพราะมองดูแล้วเจ้าของคงไม่ให้แน่ๆครับ ใบโบรชัวร์ใบนี้น่าจะออกในปลายปี 2513หลังจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระสังฆราชเจ้าแห่งวัดมกุฏกษัตริยารามได้ประทานนามพระกริ่งให้แล้วเมื่อวันที่10 กันยายน 2513 และต้องหลังจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 27 กันยายน 2513 ออกมาแล้วด้วย เพราะมีรูปการประทานนามพระกริ่งของพระสังฆราชพิมพ์อยู่ในใบโบรชัวร์ ซึ่งมีหลักฐานว่าพระสังฆราชประทานนามพระกริ่งให้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2514 และมีการอ้างถึงชื่อเสียงของนายช่างเกษมมงคลเจริญ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับดังกล่าวครับ
ที่มาของชื่อพระกริ่งรู้แล้ว ชื่อเต็มๆของพระกริ่งรู้แล้วคือ "พระพุทธวิชิตมารประทานสันติสุขสวัสดี ชินสีห์ ธรรมบพิตร"ผู้ออกแบบก็คือนายช่างเกษม มงคลเจริญจริงๆตกลงที่พูดกันว่าพระสังฆราชตั้งชื่อพระกริ่งให้ช่างผู้ออกแบบคือนายช่างเกษม เป็นเรื่องจริงครับต่อไปมาดูว่าวัตถุมงคลชุดนี้มีอะไรบ้างนอกจาก
1. พระกริ่ง
2. พระชัยตามที่เห็นไปแล้วจากโบรชัวร์ส่วนแรก ส่วนต่อไปของโบชัวร์จะเป็นภาพต้นแบบของวัตถุมงคลแบบที่สามและสี่ คือ
3. เหรียญเงินลงยารูปท่านเจ้าคุณพระอดุลสารมุนี (มีแยกย่อยออกเป็นสองแบบคือ องค์ทองคำและองค์เงิน)
4. เหรียญรูปไข่หันข้างรูปท่านเจ้าคุณฯ (มีแยกย่อยออกเป็นสามเนื้อคือเงินบริสุทธิ์ นวโลหะ ทองแดงรมดำ)
2. พระชัยตามที่เห็นไปแล้วจากโบรชัวร์ส่วนแรก ส่วนต่อไปของโบชัวร์จะเป็นภาพต้นแบบของวัตถุมงคลแบบที่สามและสี่ คือ
3. เหรียญเงินลงยารูปท่านเจ้าคุณพระอดุลสารมุนี (มีแยกย่อยออกเป็นสองแบบคือ องค์ทองคำและองค์เงิน)
4. เหรียญรูปไข่หันข้างรูปท่านเจ้าคุณฯ (มีแยกย่อยออกเป็นสามเนื้อคือเงินบริสุทธิ์ นวโลหะ ทองแดงรมดำ)
ส่วนนี้เป็นส่วนที่บอกรายละเอียดของเหรียญเงินลงยาและเหรียญรูปไข่หันข้างในใบโบชัวร์ส่วนนี้ระบุด้วยว่า"โดยการสร้างแม่พิมพ์ของนายเกษมมงคลเจริญ"บ่งบอกว่า นายช่างเกษมมงคลเจริญ เป็นทั้งผู้ออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ไม่ใช่แค่ออกแบบให้อย่างเดียว แถมยังบอกอีกด้วยครับว่า"เชื่อได้ว่าปัจจุบันนี้ยังไม่มีการสร้างเหรียญใดๆ สวยงามไปกว่าเหรียญนี้ได้"และถ้าเราได้เห็นเหรียญนี้เราจะเชื่อครับว่าสวยงามมีเสน่ห์จริงๆทั้งๆที่เหรียญออกแบบเรียบๆง่ายๆ ไม่มีอะไรวิจิตรพิสดารมากมายโดยเหรียญเงินลงยาจะมีจุดเด่นที่ เมื่อมองดูแล้วจะได้รับรู้ถึงความอ่อนช้อยสวยงามมีสีสันที่ลงตัวของเหรียญ(เรามองดูเหรียญหลวงพ่อคงลงยาปี 2483 แล้วรู้สึกยังไงเมื่อมองดูเหรียญเงินลงยาหลวงปู่จันทร์รุ่นนี้ก็จะให้ความรู้สึกประมาณๆนั้น)ส่วนเหรียญรูปไข่หันข้างจะมีจุดเด่นที่ความละเอียดประณีตของการแกะแม่พิมพ์ละเอียดแม้กระทั่งว่าเรามองเห็นขนจมูกของหลวงพ่อได้เมื่อเรามองจากเหรียญจริง และการแกะไรผมของหลวงพ่อในเหรียญรูปไข่ เป็นศิลปะฝีมือชั้นครูจริงๆครับ
ใบบอกบุญในส่วนนี้เราจะเห็นถึงความตั้งใจในการทำพิธีพุทธาภิเษกและเจตนาของคณะกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคล ที่ตั้งใจให้ผู้ที่บูชาวัตถุมงคลไปได้วัตถุมงคลที่เข้าพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ครบถ้วนมีพระคณาจารย์เก่งๆดังๆมาปลุกเสกมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้วัตถุมงคลมีอานุภาพพุทธาคมสูง เป็นมหามงคลแก่ผู้นำไปบูชาผิดกับการสร้างวัตถุมงคลในยุคสมัยนี้ที่มุ่งหวังไปในทางเชิงพาณิชย์มากจนเกินไปลงทุนให้น้อยที่สุด หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือผลตอบแทนมากที่สุดไม่คำนึงถึงพิธีการอันศักดิ์สิทธิ์สักเท่าไหร่นัก เหลือผู้สร้างวัตถุมงคลที่ยอมลงทุนและมีเจตนาบริสุทธิ์ น้อยรายลงไปเรื่อยๆถึงแม้ว่าเราจะพิสูจน์ไม่ได้ชัดเจนว่า คุณพระคุณเจ้ามีจริงหรือไม่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเราได้หรือเปล่า แต่อย่างน้อยๆวัตถุมงคลที่ได้รับการปลุกเสกที่ได้เข้าพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ครบถ้วน มีพระคณาจารย์มาปลุกเสกมากมายผมว่าน่าจะเป็นมหามงคลแก่ผู้ที่นำไปบูชาติดตัว และอาจช่วยเราได้ จริงๆผมเลยขีดเส้นใต้ไว้ให้เห็นกันชัดๆ เพราะชอบใจในเจตนาของคณะกรรมการผู้จัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ครับ
รายนามพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก ที่เห็นรายชื่ออยู่ในใบบอกบุญใบนี้พึ่งจะมีรายชื่อพระคณาจารย์อยู่เพียง 36 รูปจะเห็นได้ว่า ในรายชื่อที่ 37 ระบุไว้ว่า"ยังมีพระอาจารย์ต่างๆที่ยังมิได้ลงรายชื่อคณะกรรมการกำลังนิมนต์อยู่อีกมาก"นั่นเพราะว่าในใบบอกบุญใบนี้ทางวัดได้ทำออกมาในช่วงแรกๆของการจัดสร้างวัตถุมงคล ซึ่งคงจะเป็นปลายปี 2513 ตามที่กล่าวไปแล้วและได้นิมนต์พระคณาจารย์ไปแล้วบางส่วน(36รูป) ในขณะที่ออกใบบอกบุญใบนี้พระกับกรรมการวัดที่รับหน้าที่ไปนิมนต์พระคณาจารย์มาปลุกเสกวัตถุมงคลชุดนี้ก็ยังอยู่ในระหว่างเดินทางออกนิมนต์พระคณาจารย์โดยเดินทางไปในจังหวัดต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เรียกว่ามีพระดังๆอยู่ตรงไหน ที่ไหน ไปหมดและนำรายนามพระคณาจารย์ที่รับนิมนต์กลับมาบอกทางวัดเป็นระยะๆเพื่อให้ฝ่ายเตรียมการต้อนรับ จัดเตรียมการต้อนรับได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องและเป็นเสมือนข่าวดีที่ทางวัดรอรับฟังข่าวอยู่ตรงนี้ได้รับฟังจากคนเฒ่าคนแก่ที่อยู่ร่วมในพิธีเล่าสู่ให้ฟังครับ(ลองไปสืบถามจากคนเฒ่าคนแก่ในท้องที่ตลาดพนมสารคามดูครับ จะพูดตรงกันแบบนี้จริงๆ)ส่วนหลวงพ่อนรรัตน์(รายนามที่2) หรือเจ้าคุณนรฯ ตามที่เราเรียกกันในสมัยนี้ท่านได้มรณภาพไปก่อนพิธี แต่ทางวัดได้เตรียมอาสนะที่นั่งไว้ให้ท่านและกล่าวกันว่าท่านมาจริงๆโดยผู้ที่ชงน้ำชาถวายพระนับจำนวนพระที่นั่งอยู่ในแต่ละแถวแล้วชงน้ำชามาถวายตามที่นับผลปรากฎว่าเหลือน้ำชา1 ที่ ทำให้ผู้ที่ชงน้ำชาแปลกใจและเมื่อสอบถามกันจนได้ความแล้วจึงเกิดความศรัทธาเจ้าคุณนรฯเป็นอย่างมากถึงกับเช่าวัตถุมงคลทุกชนิดของท่านเจ้านรฯเก็บไว้มากมาย
เรียกว่ามีพระดังๆอยู่ตรงไหน ที่ไหน ไปหมดและนำรายนามพระคณาจารย์ที่รับนิมนต์กลับมาบอกทางวัดเป็นระยะๆเพื่อให้ฝ่ายเตรียมการต้อนรับ จัดเตรียมการต้อนรับได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องและเป็นเสมือนข่าวดีที่ทางวัดรอรับฟังข่าวอยู่ตรงนี้ได้รับฟังจากคนเฒ่าคนแก่ที่อยู่ร่วมในพิธีเล่าสู่ให้ฟังครับ(ลองไปสืบถามจากคนเฒ่าคนแก่ในท้องที่ตลาดพนมสารคามดูครับ จะพูดตรงกันแบบนี้จริงๆ)ส่วนหลวงพ่อนรรัตน์(รายนามที่2) หรือเจ้าคุณนรฯ ตามที่เราเรียกกันในสมัยนี้ท่านได้มรณภาพไปก่อนพิธี แต่ทางวัดได้เตรียมอาสนะที่นั่งไว้ให้ท่านและกล่าวกันว่าท่านมาจริงๆโดยผู้ที่ชงน้ำชาถวายพระนับจำนวนพระที่นั่งอยู่ในแต่ละแถวแล้วชงน้ำชามาถวายตามที่นับผลปรากฎว่าเหลือน้ำชา1 ที่ ทำให้ผู้ที่ชงน้ำชาแปลกใจและเมื่อสอบถามกันจนได้ความแล้วจึงเกิดความศรัทธาเจ้าคุณนรฯเป็นอย่างมากถึงกับเช่าวัตถุมงคลทุกชนิดของท่านเจ้านรฯเก็บไว้มากมาย
รายนามพระคณาจารย์ที่ปรากฎในใบบอกบุญใบนี้ ยังคงมีเพียง 36 รูป ไม่ครบ 108 รูป แต่ได้มีผู้นำรายชื่อพระคณาจารย์จากเอกสารชิ้นอื่นไปเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ต่างๆมากมายเมื่อเห็นครั้งแรกๆผมเองไม่ค่อยเชื่อ คิดว่าเป็นการโปรโมทพระประมาณนั้นเสียมากกว่า เพราะหลักฐานที่เห็นก็มักเป็นเพียงใบถ่ายเอกสารกับการ
เล่าต่อๆกันมา เลยคิดว่าเป็นการโปรโมทพระซะละมั้งแต่เมื่อมาเจอใบบอกบุญใบนี้ซึ่งเป็นตัวจริงเสียงจริง เลยทำท่าอยากจะเชื่อแต่ก็ยังสงสัยอยู่ในเรื่องพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสก แต่เมื่อเทียบเคียงรายชื่อพระคณาจารย์ดูไม่เชื่อก็ต้องเชื่อเพราะรายชื่อพระคณาจารย์ที่ทางวัดนิมนต์มาปลุกเสกไปตรงกับรายชื่อพระคณาจารย์ที่เอามาเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ต่างตรงกันหลายชื่อมากๆ(ในเว็บไซต์ต่างๆมีรายนามพระคณาจารย์ที่มีหลักฐานและพอจำได้อยู่ 89 รูป โดยข้อมูลระบุว่าได้ข้อมูลมาจากพระจิรวัฒน์)
เล่าต่อๆกันมา เลยคิดว่าเป็นการโปรโมทพระซะละมั้งแต่เมื่อมาเจอใบบอกบุญใบนี้ซึ่งเป็นตัวจริงเสียงจริง เลยทำท่าอยากจะเชื่อแต่ก็ยังสงสัยอยู่ในเรื่องพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสก แต่เมื่อเทียบเคียงรายชื่อพระคณาจารย์ดูไม่เชื่อก็ต้องเชื่อเพราะรายชื่อพระคณาจารย์ที่ทางวัดนิมนต์มาปลุกเสกไปตรงกับรายชื่อพระคณาจารย์ที่เอามาเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ต่างตรงกันหลายชื่อมากๆ(ในเว็บไซต์ต่างๆมีรายนามพระคณาจารย์ที่มีหลักฐานและพอจำได้อยู่ 89 รูป โดยข้อมูลระบุว่าได้ข้อมูลมาจากพระจิรวัฒน์)
ส่วนในใบบอกบุญที่พบเจอมามีรายชื่อพระคณาจารย์อยู่36 รูปเมื่อคัดรายชื่อที่ซ้ำกันออกไปจะมีรายชื่อพระคณาจารย์รวมแล้ว 105 รูปซึ่งคงขาดตกหายไปเพียง3 รายชื่อเท่านั้นที่สำคัญอยู่ตรงนี้ครับ รายนามพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสกในยุคนั้นตอนนี้ได้กลายเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศมากมายหลายองค์ด้วยกัน ซึ่งในตอนนั้นท่านอาจมีชื่อเสียงโด่งดัง เพียงแค่ในระดับภาคเท่านั้น เพราะยุคนั้นสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆไม่เฟื่องฟูเหมือนสมัยนี้ครับ
รายการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนั้น(อย่าลืมดูราคาด้วยนะครับ)ส่วนจำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้แต่ที่พบเห็นมากคือเหรียญเนื้อทองแดงพระกริ่งพระชัย นอกนั้น"หายาก"แม้กระทั่งเหรียญหันข้างเนื้อนวโลหะซึ่งราคาตอนออกให้ทำบุญ เพียงแค่ 30บาทบ่งบอกว่าต้นทุนการสร้างไม่แพง น่าจะมีปริมาณมากแต่กลับกลายเป็นว่าพบเจอน้อยไม่ต่างไปจากเนื้อเงินและเงินลงยาซึ่งคิดไปคิดมาน่าจะเป็นจริงแบบที่เค้าบอกกันอีกว่า แผ่นเงิน ทอง นาคที่คณะกรรมการนิมนต์พระ นำติดตัวไปเพื่อให้พระคณาจารย์เขียนอักขระเลขยันต์เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของมวลสารสร้างพระ ส่วนหนึ่งได้ถูกนำมาหลอมรวมกับเนื้อนวโลหะที่เตรียมไว้ แล้วรีดเป็นแผ่นนำมาปั๊มเป็นเหรียญนวโลหะเพื่อแจกให้กับคณะศิษย์ที่จะติดตามมากับพระคณาจารย์จากจังหวัดต่างๆเราจึงพบเห็นเหรียญเนื้อนวโลหะของวัดท่าเกวียนมีสีแปลกๆบางองค์แก่ไปในทางสีเงินบางองค์แก่ไปในทางสีเหลืองนวลอมทองบางองค์ออกสีกลับดำ แถมยังมีบางองค์มีสองสามสีในองค์เดียวกันที่หนักเข้าไปอีกคือบางองค์มีรอยจ้ำเงินทองนาค กระจายตัวอยู่ทั่วเหรียญ สวยงามมากบ่งบอกให้เห็นว่ามีแผ่นเงินทองนาคผสมเข้าไปด้วยจริงๆถ้าเจอเหรียญเนื้อนวโลหะแล้วลองส่อง สังเกตดูครับ
รายนามพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล
ณ วัดท่าเกวียน
ณ วัดท่าเกวียน
อำเภอพนมสารคามฉะเชิงเทราเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2514
รายชื่อชุดนี้คือชุดที่มีผู้นำมาเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ต่างๆครับผมได้ตัดรายชื่อที่ซ้ำกับใบบอกบุญด้านบนออกแล้วนำมาเรียงลำดับต่อจากลำดับที่36ลงมาครับ
37. หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
38. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
39. หลวงพ่อพรหม วัดช่องแคนครสวรรค์
40. หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาคนครสวรรค์
41. หลวงปู่ศรี วัดสะแก อยุธยา
42. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
43. หลวงพ่อสงฆ์วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร
44. หลวงปู่เม้าวัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์
45. หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง
46. หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
47. หลวงพ่อคงวัดวังสรรพรส จันทบุรี
48. หลวงพ่อทบวัดชนแดน เพชรบูรณ์
49. พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช
50. หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์
51. หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม นครปฐม
52. หลวงพ่อมุมวัดปราสาทเยอเหนือ ร้อยเอ็ด
53. หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร
54. หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
55. พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
56. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
57. หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
58. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
59.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
60.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
61. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
62. หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม
63. หลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว นครปฐม
64. หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี สมุทรสาคร
65. หลวงปู่ธูป วัดแคกทม.
66. หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
67. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
68. หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
69. หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อนครศรีธรรมราช
70. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋งเชียงใหม่(อธิษฐานจิตมา)
71. หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
72. หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
73. หลวงพ่อนารถวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี
74. หลวงพ่อมี วัดซำป่างามฉะเชิงเทรา
75. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
76. ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
77. หลวงพ่อหน่ายวัดบ้านแจ้ง อยุธยา
78. ครูบาดวงดีวัดท่าจำปี เชียงใหม่
79. หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
80. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
81. หลวงพ่อคูณวัดบ้านไร่ นครราชสีมา
82. หลวงพ่อเส็งวัดบางนา ปทุมธานี
83. หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี
84. หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี
85. หลวงพ่อไปล่วัดดาวเรืองปทุมธานี
86. พระวิบูลเมธาจารย์(เก็บ)วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
87. หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุมกาญจนบุรี
88. หลวงพ่อสายวัดจันทร์เจริญสุข สมุทรสงคราม
89. พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม
90. หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี
91. พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี
92. หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี
93. พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลักประจวบคีรีขันธ์
94.พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้วนครราชสีมา
95. หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม
96. พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.
97. หลวงพ่อเพชร วัดดงยางฉะเชิงเทรา
98. พระครูพิทักษ์เขมากรวัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา
99. หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา
100.หลวงพ่อผิว วัดหนองบัว ฉะเชิงเทรา
101.หลวงพ่อเฮงวัดอ่าวสีเสียด ฉะเชิงเทรา
102.หลวงพ่อสุด วัดกาหลงสมุทรสาคร
103. หลวงปู่จันทร์ โฆสโก อุตรดิตถ์
104. หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี
105. หลวงพ่อกลั่นวัดอินทาราม อ่างทอง
106. .........................................................
107. .........................................................
108. .........................................................
37. หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
38. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
39. หลวงพ่อพรหม วัดช่องแคนครสวรรค์
40. หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาคนครสวรรค์
41. หลวงปู่ศรี วัดสะแก อยุธยา
42. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
43. หลวงพ่อสงฆ์วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร
44. หลวงปู่เม้าวัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์
45. หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง
46. หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
47. หลวงพ่อคงวัดวังสรรพรส จันทบุรี
48. หลวงพ่อทบวัดชนแดน เพชรบูรณ์
49. พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช
50. หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์
51. หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม นครปฐม
52. หลวงพ่อมุมวัดปราสาทเยอเหนือ ร้อยเอ็ด
53. หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร
54. หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
55. พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
56. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
57. หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
58. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
59.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
60.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
61. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
62. หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม
63. หลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว นครปฐม
64. หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี สมุทรสาคร
65. หลวงปู่ธูป วัดแคกทม.
66. หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
67. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
68. หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
69. หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อนครศรีธรรมราช
70. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋งเชียงใหม่(อธิษฐานจิตมา)
71. หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
72. หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
73. หลวงพ่อนารถวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี
74. หลวงพ่อมี วัดซำป่างามฉะเชิงเทรา
75. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
76. ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
77. หลวงพ่อหน่ายวัดบ้านแจ้ง อยุธยา
78. ครูบาดวงดีวัดท่าจำปี เชียงใหม่
79. หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
80. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
81. หลวงพ่อคูณวัดบ้านไร่ นครราชสีมา
82. หลวงพ่อเส็งวัดบางนา ปทุมธานี
83. หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี
84. หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี
85. หลวงพ่อไปล่วัดดาวเรืองปทุมธานี
86. พระวิบูลเมธาจารย์(เก็บ)วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
87. หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุมกาญจนบุรี
88. หลวงพ่อสายวัดจันทร์เจริญสุข สมุทรสงคราม
89. พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม
90. หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี
91. พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี
92. หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี
93. พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลักประจวบคีรีขันธ์
94.พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้วนครราชสีมา
95. หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม
96. พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.
97. หลวงพ่อเพชร วัดดงยางฉะเชิงเทรา
98. พระครูพิทักษ์เขมากรวัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา
99. หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา
100.หลวงพ่อผิว วัดหนองบัว ฉะเชิงเทรา
101.หลวงพ่อเฮงวัดอ่าวสีเสียด ฉะเชิงเทรา
102.หลวงพ่อสุด วัดกาหลงสมุทรสาคร
103. หลวงปู่จันทร์ โฆสโก อุตรดิตถ์
104. หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี
105. หลวงพ่อกลั่นวัดอินทาราม อ่างทอง
106. .........................................................
107. .........................................................
108. .........................................................
ขอสอบถามครับว่าทำไมเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดง บางองค์จึงมีโค๊ดนะครับ
ตอบลบอยากได้พระกริ่ง ทำไงดี
ตอบลบอยากได้พระกริ่ง ทำไงดี
ตอบลบ